21 ส.ค. 2556

20 หลักการเคลื่อนย้ายสินค้าใน Warehouse


การจัดการคลังสินค้าเป็นกุญแจสำคัญทางด้าน Supply Chainในด้านการหมุนเวียนของคลังสินค้า การเลือกสินค้า การส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้า เพื่อทำให้มีการใช้พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด รวมถึงระดับปริมาณสินค้าด้วย การใช้การจัดการแบบนี้จะทำให้ลดการพึ่งพาจำนวนพนักงานต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการนำหลักการเคลื่อนย้ายสินค้า 20 ข้อ ไปใช้ใช้ในการจัดการเพื่อการบริหารประสิทธิภาพในงานคลังสินค้า หลักทั่วไปในการหยิบและเคลื่อนย้ายของภายในคลังสินค้า
      1. Orientation Principle ท ำการศึกษาความสัมพันธ์ของระบบจากแผนที่กำลังใช้อยู่เพื่อที่จะสามารถทราบถึง วิธีการจัดการและปัญหาที่เป็นอยู่, ข้อจำกัดด้านกายภาพและเศรษฐศาสตร์ เพื่อที่จะสามารถกำหนดความต้องการและเป้าหมายในอนาคตได้ Study the system relationships thoroughly prior to preliminary planning in order to identify existing methods and problems, physical and economic constraints, and to establish future requirements and goals.
     2. Planning Principle เริ่มวางแผน โดยรวมความต้องการพื้นฐาน, ทางเลือกที่ต้องการ, และพิจารณาความที่เป็นไปได้ในการดูแลวัสดุและงานด้านการเก็บสินค้าเข้าไปในแผนด้วย Establish a plan to include basic requirements, desirable options, and the consideration of contingencies for all material handling and storage activities.
     3. Systems Principle น ำกิจกรรมด้านงานดูแลและการเก็บสินค้าเข้าไปในระบบ ซึ่งดูถึงความเป็นไปด้านในแง่เศรษฐศาสตร์ โดยรวมงานด้านการรับของ, การตรวจ, การเก็บ, การผลิต, การประกอบ, การบรรจุหีบห่อ, การคลังสินค้า, การนำส่งสินค้า, และการขนส่ง Integrate those handling and storage activities which are economically viable into a coordinated system of operation including receiving, inspection, storage, production, assembly, packaging, warehousing, shipping and transportation.
     4. Unit Load Principle จัดการสินค้าให้เป็นหน่วยใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Handle product in as large a unit load as practical.
     5. Space Utilization Principle บริหารพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด Make effective utilization of all cubic space.
     6. Standardization Principle กำหนดวิธีการดูแลสินค้าและอุปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานทุกที่ที่เป็นไปได้ Standardize handling methods and equipment wherever possible.
     7. Ergonomic Principle ต้องทราบถึงความสามารถและข้อจำกัดด้านสรีระของมนุษย์เพื่อที่จะสามารถออกแบบอ ุปกรณ์และขบวนการดูแลสินค้า เพื่อให้เกิดการใช้งานระหว่างผู้ใช้กับระบบเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด Recognize human capabilities and limitations by designing material handling equipment and procedures for effective interaction with the people using the system.
     8. Energy Principle รวมข้อมูลการใช้พลังงานของระบบดูแลวัสดุและขบวนการดูแลวัสดุทุกครั้งเมื่อมีการเปรียบเทียบหรือเตรียมการปรับปรุงให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด Include energy consumption of the material handling systems and material handling procedures when making comparisons or preparing economic justifications.
     9. Ecology Principle ทำให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เมื่อมีการเลือกอุปกรณ์และขบวนการดูแลวัสดุ Minimize adverse effects on the environment when selecting material handling equipment and procedures.
     10. Mechanization Principle นำเครื่องจักรเข้ามาเมื่อพิจารณาแล้วว่าเกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป Mechanize the handling process where feasible to increase efficiency and economy in the handling of materials.
     11. Flexibility Principle ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่สามารถนำไปใช้กับงานหลายๆงานภายใต้สภาพหรือเงื่อนไขที่หลากหลายได้ Use methods and equipment which can perform a variety of tasks under a variety of operating conditions.
     12. Simplification Principle ทำการดูแลให้ง่ายๆเข้าไว้ อาจทำได้โดยการยกเลิก, การลด,หรือควบรวม การเคลื่อนไหวและหรืออุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น Simplify handling by eliminating, reducing, or combining unnecessary movements and/or equipment.
     13. Gravity Principle ใช้ประโยชน์ของแรงดึงดูดโลกทุกเวลาเท่าที่เป็นไปได้ โดยต้องพิจารณาถึงความปลอดภัย, ความเสียหายและการสูญหายต่อสินค้า Utilize gravity to move material wherever possible, while respecting limitations concerning safety, product damage and loss.
     14. Safety Principle จัดหาอุปกรณ์ดูแลวัสดุและวิธีการซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เพื่อให้ปลอดภัยมากกว่าประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว Provide safe material handling equipment and methods which follow existing safety codes and regulations in addition to accrued experience.

     15. Computerization Principle พิจารณาการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับการเก็บและดูแลวัสดุ เมื่อจำเป็นต้องปรับปรุงการควบคุมวัสดุและข้อมูล Consider computerization in material handling and storage systems, when circumstances warrant, for improved material and information control.
     16. System Flow Principle รวมการไหลเวียนข้อมูลเข้ากับการไหลของวัสดูในการดูแลและเก็บที่เกิดขึ้นจริงุ Integrate data flow with the physical material flow in handling and storage.

     17. Layout Principle เ ตรียมขั้นตอนการปฏิบัติงานและการจัดตำแหน่งอุปกรณ์ในทุกทางเลือกที่คิดว่าสา มารถแก้ปัญหาได้ หลังจากนั้นเลือกระบบที่เหมาะสมทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล Prepare an operational sequence and equipment layout for all viable system solutions, then select the alternative system which best integrates efficiency and effectiveness.
     18. Cost Principle เปรียบเทียบความคุ้มด้านการเงินของทางเลือกอุปกรณ์และวิธีการ โดยการคำนวนจากประสิทธิภาพที่สามารถคำนวณจากค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งหน่วยที่ดูแล Compare the economic justification of alternate solutions in equipment and methods on the basis of economic effectiveness as measured by expense per unit handled.
     19. Maintenance Principle เตรียมแผนการป้องกันและตารางการซ่อมแซมอุปกรณ์ทุกชิ้น Prepare a plan for preventive maintenance and scheduled repairs on all material handling equipment.
     20. Obsolescence Principle เตรียมแผนระยะยาวเมื่อจำเป็นต้องทดแทนอุปกรณ์ที่ล้าสมัยและโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายหลังรอบการเสียภาษี Prepare a long range and economically sound policy for replacement of obsolete equipment and methods with special consideration to after-tax life cycle costs
     สำหรับข้อดีในการนำ cross dock มาใช้ เร่งอัตราการหมุนเวียนของสินค้า และเพิ่มอัตราการหมุนเวียนภายในสินค้าคงคลัง ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการดูแลสินค้าที่ cross dock ช่วยในการจัดการบริหารการขนส่งสินค้าที่หลากหลายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ลูกค้าที่ใช้ระบบ JIT(Just In Time) สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยปรับปรุงการใช้อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     -ลดความต้องการใช้พื้นที่สำหรับการจัดเก็บได้
     -ลดความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจากการหยิบจับสินค้าที่ลดลง

     -ลดความเสียหายจากการที่สินค้าหมดอายุหรือไม่ทันสมัยอันเนื่องมาจากการเก็บในคลังสินค้านานเกินไป
     -ลดการสูญหายของสินค้าเนื่องมาจากการลักขโมย อันเนื่องมาจากการหมุนเวียนสินค้าที่รวดเร็ว ช่วยเร่งการจ่ายเงินให้กับผู้ผลิตเร็วขึ้น เป็นผลทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกันมากขึ้น

     -ลดงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก : logisticsthailand.com

ดีเอชแอลกวาด 7 รางวัลเด่นจากการประกวด

ดีเอชแอลกวาด 7 รางวัลเด่นจากการประกวด Reader’s Digest Trusted Brand Award 2013 

• คว้ารางวัลโกลด์อวอร์ดจาก “บริการขนส่งทางอากาศ/รับส่งพัสดุภัณฑ์” ดีเด่นในไทย ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย และไต้หวัน
• รับรางวัลโกลด์อวอร์ด สาขา “บริการขนส่งทางอากาศ/รับส่งพัสดุภัณฑ์” ดีเด่นในเอเชียติดต่อกันเป็นปีที่ 5
• รับรางวัลแพลตินัมอวอร์ด สาขา “บริการขนส่งทางอากาศ/รับส่งพัสดุภัณฑ์” ดีเด่นในสิงคโปร์ 

กรุงเทพฯ 4 กรกฎาคม 2556 – ดีเอชแอล ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก คว้า 7 รางวัลเด่นในการประกวด Reader’s Digest Trusted Brand Award ประจำปี 2556 ซึ่งได้แก่ รางวัลโกลด์อวอร์ด สาขา “บริการขนส่งทางอากาศ/รับส่งพัสดุภัณฑ์” ดีเด่นแห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นรางวัลที่ดีเอชแอลได้รับติดต่อกันมาถึง 5 ปีซ้อน รางวัลแพลตินัมอวอร์ด สาขา “บริการขนส่งทางอากาศ/รับส่งพัสดุภัณฑ์” ดีเด่นในสิงคโปร์ และรางวัลโกลด์อวอร์ด สาขา “บริการขนส่งทางอากาศ/รับส่งพัสดุภัณฑ์” ดีเด่นในไทย ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย และไต้หวัน
เจอร์รี่ ชู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ ดีเอชแอลตะหนักดีว่า ความสำเร็จของเราไม่ได้มาจากการรับฟังสิ่งที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดีเอชแอลมีประสบการณ์ในการให้บริการแก่ลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมานานกว่า 40 ปี การเติบโตอย่างรวดเร็วของดีเอชแอล เกิดจากความไว้วางใจและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่ดีเอชแอลได้สั่งสมมายาวนานร่วมกับลูกค้า และเพื่อตอบแทนต่อความไว้วางใจที่ได้รับจากลูกค้ามาโดยตลอด ดีเอชแอลจึงได้ลงทุนพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งทางอากาศและบริการสุดล้ำ โดยเปิดศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ดง ประเทศจีน และมุ่งให้บริการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ตอกย้ำเจตนารมณ์ของดีเอชแอลที่ต้องการมีส่วนร่วม
ในการสร้างความสำเร็จให้แก่ลูกค้า”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : dhl.co.th

หัวหน้างานคลังสินค้าพันธุ์ใหม่

สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย พัฒนาหลักสูตร “หัวหน้างานคลังสินค้าพันธุ์ใหม่” เพื่อเตรียมการรองรับ AEC

สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย - สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกัน จัดงานแถลงข่าว “หัวหน้างานคลังสินค้าพันธุ์ใหม่” เพื่อพัฒนาบุคลากรในระดับหัวหน้างานคลังสินค้าที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ณ สานักงาน สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย วันที่ 5 สิงหาคม 2556

เนื่องด้วยประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ภายในปี 2558 ซึ่งมีข้อตกลงว่าด้วยการทาให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า และการเคลื่อนย้ายบริการได้อย่างเสรี เพื่อรองรับการเป็น Hub Asean บุคลากรที่ดูแลการกระจายสินค้า มีความสาคัญอย่างยิ่ง

ดังนั้น สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย ร่วมกับ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสาคัญของการเตรียมความพร้อมของบุคลากรระดับหัวหน้างาน ด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับAEC จึงจัดคณาจารย์สอน จากภาคเอกชน ซึ่งมากประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะร่วมกับ อาจารย์สถาบันการขนส่ง มาพัฒนาหลักสูตร “หัวหน้างานคลังสินค้าพันธุ์ใหม่” เพื่อสร้างยอดหัวหน้างานพันธุ์ใหม่ ที่สามารถจัดการงานคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงความต้องการของตลาดสากลได้อย่างแท้จริง ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตร “HARD Skill” ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น ยอดนักบริหารงานและหลักสูตร “SOFT Skill” ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น ยอดนักบริหารคน

ขอบคุณข้อมูลจาก : logisticsdigest.com

Warehouse ต้องการ WMS ไหม

WMS หรือ Warehouse Management System เป็นระบบที่บริหารจัดการคลังซึ่งคลังแต่ละประเภท ก็มีการกระบวนการทำงานที่แตกต่าง เช่น คลังภายในโรงงาน ก็มีรูปแบบและระบบที่แตกต่างจากคลังสาธารณะ ดังนั้นเวลาจะเลือกใช้ก็ควรจะเลือกให้ถูกต้อง แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ WMS ลองอ่านข้อมูลด้านล่างสักนิดว่า เราจำเป็นต้องใช้ WMS ไหม
  1. ความจำเป็น ก่อนจะใช้ WMS ก็ต้องถามตัวเองว่า จำเป็นไหม หากเป็นคลังเล็กๆ จำนวนสินค้าที่เก็บไม่มาก มีระบบการจัดการแบบ Manual บน Excel ก็เพียงพอ  WMSอาจจะไม่ได้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร  แต่ในทางตรงข้าม หากกำลังจะขยายธุรกิจ ไม่มีระบบการทำงานที่ชัดเจน  ปริมาณสินค้าค่อนข้างมาก ดังนั้น WMS อาจจะเป็นทางเลือกที่น่าจะพิจารณา
  2. งบประมาณ  สำคัญไม่น้อยไปกว่าเหตุผลที่อยากได้  เพราะหากงบประมาณจำกัด  เราอาจจะได้ซอฟแวร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ แทนที่จะช่วยเราทำงานกลับสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น   ระบบ WMS ส่วนใหญ่ก็มี Price Rangeค่อนข้างกว้าง เริ่มต้นประมาณ 200,000-800,000 ซึ่งราคาจะถุกจะแพงก็ขึ้นอยู่ Function และความสามารถของระบบ
  3. อบโจทย์ของผู้บริหาร : ในการกำหนดแนวทางหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการวางแผน ซึ่งข้อมูลที่มาจากคลังสินค้า เช่น ปริมาณสินค้าคงคลัง  สินค้าค้างสต็อก ข้อมูลสินค้าขายดี และอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวางแผน แต่ก็ต้องคำนึงไว้อย่างหนึ่งว่า ระบบ 1 ระบบอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ของทุกฝ่าย แต่แต่ละฝ่ายก็สามารถเลือกนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปใช้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : kascologistics.com

เทคนิคการนับสต็อก!!

การนับสต็อก เป็นกระบวนการที่สำคัญมากในคลังสินค้า ไม่ว่าคุณจะใช้ Software WMS หรือ Manual การนับสต็อกก็ยังคงจำเป็น แต่ปัญหาก็คือ นับทีไร ก็ปวดหัวทุกที ยอดตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง บางทีนับหลายคนก็ไม่ตรงกันสักคน ลองมาดูสิคะว่า ทางคาสโกมีเทคนิคการนับสต็อกอย่างไร 

การนับสต็อกแบบหลายคลัง เก็บสินค้าแยกตามประเภทชัดเจน (ใช้ Mobile Scanner ในการนับสต็อก)
คลังสินค้าที่ต้องการนับมี 3 คลัง คือ คลัง 1, 2, 3 มีเจ้าหน้าที่นับทั้งหมด 8 คน วิธีการนับมีดังนี้
1. แบ่งทีมออกเป็น 4 ทีม ทีมละ 2 คน ประจำคลังละ 1 ทีม   เหลืออีก 1 ทีม ให้เป็นทีมที่นับของที่อยู่บนพื้น 
2. นับรอบที่ 1 
แต่ละทีมให้ 1 คน เดินนับสินค้าในแต่ละแถว  โดยนับแยกตามประเภทสินค้าและจดใส่กระดาษ ตรงนี้จะช่วยให้การนับเร็วขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่คุ้นเคยกับสินค้าอยู่แล้ว  จึงหาสินค้าได้รวดเร็ว  เวลานับโดยใช้ Mobile จะช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น เพราะทราบรายละเอียดของสินค้าล่วงหน้า ไม่ต้องเดินเช็คทีละตัว
3. รอบที่ 2 ยิงบาร์โค้ดนับจริง  ใน 1 ทีมแบ่งเป็นคนตัก Forklift และคนยิงบาร์โค้ด 
4. ทำตามขันตอน1-3 ในทุกแถว

ขอบคุณข้อมูลจาก : kascologistics.com